วัดสรรพยาวัฒนาราม
ที่อยู่ : ม.4 ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
วัดสรรพยาวัฒนาราม ชัยนาท สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เดิมชื่อว่าวัดเสาธงหิน หรือ วัดวังหิน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมก่อนนี้ชื่อบริเวณหน้าวัดเป็นวังน้ำวน น้ำหมุนเป็นเกลียวเหมือนเสาหิน หลวงพ่อเขียวเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก (พ.ศ.2415 - 2435 ) วัดวังหินเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดสรรพยาวัฒนาราม เมื่อ พ.ศ.2495 ปีมะเส็ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2500 กรมศิลปากรยังไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (มีข้อมูลในแบบสำรวจโบราณสถาน และแหล่งโบราณคดี) สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย อุโบสถ (หลังเก่า) วิหาร และกลุ่มเจดีย์ เป็นต้น
พระปลัดเฟื่อง ธมฺมโชติ
ประวัติโดยสังเขป
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระปลัดเฟื่อง นามฉายา ธมฺมโชติ ถอดความจากภาษาบาลีแปลว่า “ผู้-สว่าง รุ่งเรืองในทางธรรม” หลวงพ่อพระปลัดเฟื่องถือกำเนิดเกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏแน่ชัดสันนิษฐานว่าราวๆปี พ.ศ.๒๓๙๐-๒๓๙๖ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาเมื่อปีใด นามพระ-อุปัชฌายะชื่ออะไรไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบเพียงว่าหลวงพ่อเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วท่านศึกษาธรรม อักขระขอมและวิชาอาคมต่างๆ โดยนามอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้กับท่านตามคำบอกเล่าของชนรุ่นก่อนต่างพ้องต้องกันว่าหลวงพ่อเฟื่องนั้นร่ำเรียนศึกษาวิชาอาคมมาจากหลวงพ่อเขียว ซึ่งหลวง-พ่อเขียวนี้ในอดีตท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงคุณเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยม ทราบจากเมื่อท่านมรณภาพราวปี พ.ศ.๒๔๓๔ มีการหล่อรูปเหมือนท่านไว้เป็นที่ระลึกบูชา หลวงพ่อเขียวรูปนี้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดสรรพยาวัฒนาราม(วังหิน) ตั้งแต่เมื่อนามวัดยังใช้นามว่า”วัดเสาธงหิน” ราวปี พ.ศ.๒๔๑๕-๒๔๓๔ สำหรับหลวงพ่อพระปลัดเฟื่องนั้นจากที่ท่านศึกษาพุทธาคมจนปรีชาแตกฉานเกียรติคุณเป็นที่กล่าวขานของบรรดาญาติโยมทั้งในอำเภอสรรพยาและบริเวณใกล้เคียง สำหรับพิธีพุทธาภิเษกนั้นหลวง-พ่อท่านเคยได้ร่วมพุทธาภิเษก อธิษฐานจิตปลุกเสกพระกลีบบัวเนื้อเมฆพัฒน์ที่ท่านเจ้าคุณพระอุดรคณา-รักษ์(ศรีพฺรหฺมโชติ)อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(โพธิ์) กรุงเทพมหานคร ได้สร้างขึ้นและจัดพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดหลวงสิริบูรณาราม ราวปี พ.ศ.๒๔๖๓ และน่าจะอีกหลายพิธีแน่นอน ฯลฯ
หลวงพ่อพระปลัดเฟื่อง ในคราวที่ท่านดำรงชีวิตอยู่นั้นท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรม-วินัยเป็นที่เคารพรักศรัทธาในบรรดาญาติโยมและทราบกันว่าท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวิเศษชำนาญในเวทย์วิทยาคมที่ไม่ธรรมดารูปหนึ่งในสมัยนั้น
ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์
-พ.ศ.๒๔๓๕ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดวังหิน ต่อมาเปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น วัดสรรพยาวัฒนา-ราม
***จากหลักฐานที่พระภิกษุมาก วัดวังหิน มีจดหมายถึงเจ้าคณะหมวด(เจ้าคณะตำบลสรรพยา)ในสมัยนั้นคือหลวงพ่อทรัพย์ เจ้าอาวาสวัดกำแพง นั้นได้บันทึกนามของหลวงพ่อในตอนต้นจดหมายความว่า “ท่านพระปลัดเฟื่อง เจ้าอธิการวัดวังหิน” จึงทำให้ทราบว่าหลวงพ่อเฟื่องนั้นท่านอาจเคยดำรงที่เจ้า-คณะหมวด(เจ้าคณะตำบลสรรพยา)หรือเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วยก็เป็นได้เพราะการขนานนามตำแหน่งของพระสงฆ์ในสมัยนั้นถ้าขึ้นด้วย “เจ้าอธิการ” ทำให้ทราบได้เลยว่าท่านต้องอาจเคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะ-ตำบลหรือพระอุปัชฌาย์มาก่อน ซึ่งต่างกับ ”พระอธิการ” ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสที่ไม่มีสมณศักดิ์อื่น
สมณศักดิ์
หลวงพ่อพระปลัดเฟื่อง ท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นพระฐานานุกรมที่ “พระปลัด” ซึ่งเป็นฐานานุกรมในพระราชาคณะชั้นสามัญเท่านั้นหรือไม่ก็เป็นฐานานุกรมของเจ้าคณะจังหวัดหรือเจ้าคณะอำเภอในสมัยนั้นที่มีสมณศักดิ์สูงพอสมควรที่จะตั้งฐานานุกรมได้
เกียรติคุณอันสูงยิ่ง
หลวงพ่อพระปลัดเฟื่อง ท่านได้รับพระราชทาน ผ้าสังฆาฏิ พัดรอง ครั้งงานพระเมรุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง นริศรวงศ์เทวราช วโรภโตชาด-พิสุทธิ์ รัตนบุรุษย์จุฬาลงกรณ์ บดินทรวโรรส อดุยยศวิสุทธิกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร” พระราช-โอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๕) และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถเมื่อปีจุลศักราช ๑๒๔๙ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ (ซึ่งเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรงนี้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๐ ขณะพระชนมายุ ๖ พรรษา)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
พัดรอง สังฆาฏิ
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ในพระพุทธเจ้าหลวงและสมเด็จพระศรีพัชรินทรา- บรมราชินีนาถ ยังความปราบปลื้มปิติยินดี ภูมิใจแก่ชาวสรรพยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มรณภาพ
หลวงพ่อพระปลัดเฟื่อง ท่านเริ่มอาพาธโดยโรคชราและกลายเป็นธาตุพิษ ตั้งแต่วันอังคารที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ จนถึง แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๙๕ ปีระกาเบญจศก รัตนโกสินทร์ศก ๑๕๒ ตรงกับวันพุธที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ อาการของท่านหนักขึ้นเหลือกำลังของแพทย์และถึงมรณภาพ เมื่อเวลาบ่าย ๓ โมงเศษของวันนั้น สิริอายุราวๆ ๘๐ ปีกว่า
***หลักฐานการมรณภาพของท่านซึ่งพระภิกษุมาก เขียนจดหมายถึงท่านพระวินัยธรทรัพย์ ติสฺสทตฺโต เจ้าอาวาสวัดกำแพง เจ้าคณะหมวด(เจ้าคณะตำบลสรรพยา) ในสมัยนั้นซึ่งต่อมาเป็นพระครู-สัญญาบัตรที่ “พระครูวิชัยสุตคุณ” เพื่อแถลงการณ์มาให้ พระวินัยธรทรัพย์ เดินทางไปสรงน้ำและบรรจุสังขารของหลวงพ่อเฟื่องลงหีบ ตามในจดหมายความว่า
หลักฐานที่พระภิกษุมาก มีถึงพระวินัยธรทรัพย์ เจ้าคณะหมวดสรรพยา เจ้าอาวาสวัดกำแพง
หลักฐานที่พระภิกษุมาก มีถึงพระวินัยธรทรัพย์ เจ้าคณะหมวดสรรพยา เจ้าอาวาสวัดกำแพง
เมื่อหลวงพ่อพระปลัดเฟื่องถึงแก่มรณภาพ นำความเศร้าโศกเสียใจแก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างมาก ฉะนั้นศิษยานุศิษย์ที่เคารพศรัทธาในองค์หลวงพ่อจึงร่วมใจกันหล่อรูปเหมือนท่านไว้ ณ วัดวังหิน เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกนึกถึงในศีลาจารวัตร คุณงามความดีและบูชาพระเดชพระคุณหลวงพ่อ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖
วิหารน้อย
วัดสรรพยาวัฒนาราม
วิหารน้อยเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมี 4 ห้อง กว้าง 500 เมตร ยาว 11.50 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สู่แม่น้ำเจ้าพระยา หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่ว และลดชั้นมีเสารองรับ 4 ต้น ที่ด้านหลัง ด้านหน้า ก่อเป็นซุ้มโค้งรูปกลีบบัว มีประติมากรรมปูนปั้นเรียกว่า “ พระฉาย ” คือองค์พระพุทธเจ้าประทับเงาพระองค์บนหน้าผา เป็นพระอุเทสิกะเจดีย์ให้คนที่ผ่านไปมาได้เคารพมีลักษณะพระพุทธเจ้าประทับปรางถวายเนตร พร้อมพระอัครสาวก ๒ องค์ ผนังด้านข้างเจาะเป็นช่องประตูด้านละ 1 ช่อง ทำกรอบช่องประตูปูนปั้นผนังภายในฉาบเรียบ มีฐานชุกชีประดิษฐาน พระพุทธรูปประทับนอนหงายในหีบพระบรมศพพร้อมฝาหีบลงรักปิดทอง ลายพรรณพฤกษา โดยมีพระสาวกกำลังนมัสการพระบรมศพ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ และหายากคู่บ้านคู่เมืองสรรพยามาช้านาน วิหารหลังนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณครั้งของพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวอำเภอสรรพยา ได้เห็นความสำคัญของพระพุทธรูปปางนี้ จึงได้คิดริเริ่มจัดงานประเพณีวันอัฎฐมีบูชาขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า